วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ ม.2 (หน่วยที่ 2 พัฒนาการของภูมิภาคเอเชีย)






มาตรฐานการเรียนรู้
ส 4.2      เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึง
ปัจจุบันในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
ตัวชี้วัด
ส 4.2 ม.2/1      อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของภูมิภาคเอเชีย
1.             อธิบายสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก (K)
2.             จำแนกลักษณะภูมิประเทศภูมิอากาศของเอเชียตะวันออก (P)
3.             เห็นความสำคัญและประโยชน์ที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้สภาพแวดล้อมของภูมิภาคเอเชีย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง (A)

        ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
                        เอเชียตะวันออกเป็นภูมิภาคที่กว้างขวางที่สุดในทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศจีน ญี่ปุ่น
เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และมองโกเลีย ภูมิประเทศเป็นแผ่นดินใหญ่ กลุ่มเกาะและเทือกเขาสูง มีภูมิอากาศแบบร้อน อบอุ่นและหนาวจัดในฤดูหนาว
 
 ลักษณะภูมิอากาศ

1. ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ลมที่พัดผ่านเกิดจากศูนย์กลางความกดดันอากาศสูงที่ไซบีเรีย ลมที่พัดผ่านมีคุณสมบัติและทิศทางแตกต่างกัน ดังนี้ ลมตะวันออกเฉียงเหนือคุณสมบัติเป็นลมหนาวเย็นเมื่อพัดผ่านแผ่นดินทางตอน เหนือของจีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ จึงเป็นลมเย็นและแห้งแล้ง ลมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คุณสมบัติเป็นลมหนาวเย็น เมื่อพัดผ่านประเทศมองโกเลีย และดินแดนตอนในของจีนจึงทำให้พื้นที่ดังกล่าวหนาวเย็นและแห้งแล้ง
2. ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อุณหภูมิของอากาศอุ่นขึ้น จะเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ
3. ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม แผ่นดินบริเวณทะเลทรายธาร์ในอินเดียเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้ลมเคลื่อนที่ผ่านญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ รวมทั้งไต้หวัน จึงทำให้ระยะนี้มีฝนตกชุกโดยทั่วไป ส่วนมองโกเลียมีฝนบ้างเล็กน้อย หรือไม่มีฝนเลย เนื่องจากความห่างไกลจากทะเล
4. ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน เป็นช่วงที่ปริมาณฝนเริ่มลดลงจากลมตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณดินแดนที่ตั้งอยู่เหนือเส้นขนานที่ 30 จะเริ่มหนาวเย็น ต้นไม้เริ่มทิ้งใบ เรียกว่า ฤดูใบไม้ร่วงปรากฎมากในภาคเหนือของจีน

 ลักษณะภูมิประเทศ
1. ที่ลาบสูงมองโกเลีย อยู่ทางทิศเหนือของภูมิภาคเป็นที่ราบสูงหินเก่าที่ถูกโอบล้อมด้วยภูเขาหิน ใหม่ ทิวเขาที่สำคัญ คือ ทิวเขาอันไต ทิวเขาเทียนซาน ทิวเขาหนานซาน

2. ที่ราบสูงทิเบต อยู่ทางทิศใต้ของภูมิภาคเป็นที่ราบสูงหินใหม่ที่โอบล้อมด้วยภูเขาหินใหม่ ได้แก่ ทิวเขาคุนหลุนซาน ทิวเขาโกราโกรัม ทิวเขาหิมาลัย

3. แอ่งทาริม เป็นแอ่งที่ราบที่ถูกโอบล้อมด้วยภูเขาเทียซานทิวเขาทาราโครัม ที่ราบสูงคุนลุน

4. ทิวเขาและที่สูง สภาพทั่วไปเป็นเขาและทิวเขาหินใหม่ที่มีอายุทางธรณีวิทยาในยุคเทอร์เชียรรี จึงยังคงพบปรากฎการณ์ของแผ่นดินไหวในบริเวณดังกล่าว
5. ที่ราบลุ่มน้ำ เอเชียตะวันออกมีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ลำน้ำไหลลงมหาสมุทรแปซิฟิก
6. เกาะและหมู่เกาะ เอเชียตะวันออกมีหมู่เกาะที่สำคัญชื่อเกาะไหหลำ

7. คาบสมุทรเกาหลี อยู่ระหว่างทะเลเหลืองกับทะเลญี่ปุ่น

ทำเลที่ตั้ง
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกตั้งอยู่ระหว่างละติจูด ที่ 18-54 องศาเหนือที่ชายแดนจีนกับรัสเซีย บริเวณแม่น้ำอามูร์ และระหว่างลองติจูดที่ 74-145 องศาตะวันออกที่หมู่เกาะคูริลประเทศญี่ปุ่น โดยมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับดินแดนของสหพันธรัฐรัสเซีย
ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแปซิฟิก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียกลาง
ทิศใต้ ติดต่อกับภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
                     
    สาธรณรัฐประชาชนจีน                                                     สาธารณรัฐเกาหลี        

     มองโกเลีย 
                    
                                                                







ญี่ปุ่น 




                                                     
                           
            ไต้หว้น                                 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี  

 ลักษณะทางด้านประชากร สังคม วัฒนธรรม

เอเชียตะวันออกมีประชากรรวมมากที่สุดในทวีป เอเชียและภูมิภาคอื่นๆของโลก คือมีจำนวนถึง 1531 ล้านคน โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนมีประชากรมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 85 ของประชากรในภูมิภาค รองลงมาคือญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เกาหลีเหนือ และมองโกเลียมีประชากรน้อยที่สุด คือมีเพียง 2.5 ล้านคน ประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดคือ ไต้หวัน มีประชากร 698 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร รองลงมาได้แก่เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ และจีนโดยมองโกเลียมีประชากรเบาบางที่สุด คือมีเพียง 2คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น สำหรับแหล่งที่มีประชากรหนาแน่นของจีนคือที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปาก แม่น้ำฮวงโห และแยงซี รวมทั้งชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออก นอกจากนี้จะอาศัยอยู่ในเขตเมืองหลวง และย่านอุตสาหกรรม ได้แก่ ปักกิ่ง เทียนจิน ช่างไห่ ของจีน และเมืองโตเกียว และโอซะกะของญี่ปุ่น ทางด้านวัฒนธรรมทุกประเทศล้วนได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจีนเหมือนๆกัน แต่ก็ยังมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เช่นการแต่งกาย ภาษาพูด ภาษาเขียน ในปัจจุบันได้เริ่มมีภาษาอังกฤษเข้ามีบทบาท เป็นภาษาที่สองของประเทศ ส่วนในด้านการนับถือศาสนา เนื่องจากเอเชียตะวันออกเป็นประเทศที่มีอารยธรรมและความเป็นมาเกี่ยวกับ ศาสนามานามกว่าหลายภูมิภาคดังจะพบได้ร้อยละ 80 ของการนับถือศาสนาชองประชากรจะนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งมีลัทธิเต๋า ขงจื้อ รวมเข้าด้วย มีศาสนาคริสต์ไม่เกินร้อยละ 15 และมีอิสลามเพียงร้อยละ 1 ส่วนที่เหลือเป็นความเชื่อและนับถือลัทธิอื่นรวมทั้งความเชื่อตามประเพณีที่ นับถือกันมายาวนาน

พืชพรรณธรรมชาติ
 พื้นที่ ส่วนใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเป็นภูเขาทะเลทราย และทุ่งหญ้า ดังนั้น พืชพรรณธรรมชาติประเภทป่าไม้จึงมีน้อยมากแต่ในขณะเดียวกันบางพื้นที่ก็มี ป่าไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น เช่น ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีเหนือและทางใต้ของประเทศจีน อย่างไรก็ตามลักษณะของพืชพรรณธรรมชาติในเอเชียตะวันออกสามารถแบ่งได้เป็น ประเภท ดังนี้
1. ป่าผสม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ป่าผสมแบบอบอุ่น จะอยู่ทางตอนเหนือของภูมิภาค ได้แก่ เขตแมนจูเรียของจีน เกาหลีเหนือ และภาคเหนือของญี่ปุ่น ซึ่งมีอากาศเย็นและหนาวจัดในฤดูหนาว พืชพรรณธรรมชาติเป็นพวกต้นสนขึ้นสลับกับไม้ผลัดใบอื่นๆ เช่น ต้นโอ๊ก ต้นไพน์ และต้เฟอร์ แต่ถัดลงไปทางใต้ซึ่งมีอากาศค่อนข้างอบอุ่นกว่า ภาคตะวันออกของจีน เกาหลีใต้ ภาคกลางและภาคใต้ของญี่ปุ่น จะมีต้นไผ่ขึ้นแทน

2. ทุ่งหญ้าและเขตอบอุ่น เขตทุ่งหญ้าชองภูมิภาคจะครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ตอนกลางของประเทศจีน มองโกเลีย และที่ราบสูงทิเบต แต่สภาพของทุ่งหญ้าจะเป็นต้นหญ้าสั้นๆใบเรียวเล็ก อยู่กระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ บริเวณที่มีทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ ทางตะวันออกของมองโกเลีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนแถบเมืองเซิ่นยาง

3. พืชพรรณทะเลทราย อยู่ตอนกลางและตะวันตกของประเทศจีน และตอนล่างของมองโกเลีย ซึ่งเป็นเขตทะเลทรายโกบี พืชพรรณธรรมชาติเป็นพวกไม้หนาม เช่น ต้นกระบองเพชร ไม้พุ่มเตี้ย เป็นต้น และมีทุ่งหญ้าขึ้นแซมบ้างประปราย

ภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกมีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างได้สัดส่วน กันมีประเทศที่เป็นยักษ์ใหญ่ทางอุตสาหกรรมคือญี่ปุ่น และประเทศอุตสาหกรรมใหม่ได้แก่เกาหลีใต้ และไต้หวันส่วนประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจยังอยู่ที่ภาคเกษตรกรรมก็คือ จีน เกาหลีเหนือ และมองโกเลีย
ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้แก่
1.1การ เพาะปลูก พืชอาหารที่สำคัญได้แก่ข้าวเจ้า ปลูกมากบริเวณภาคใต้ที่ลาบลุ่มชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน นอกจากนี้ก็ปลูกได้ทั่วประเทศญี่ปุ่นยกเว้นทางภาคเหนือ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เพราะมีฝนตกชุกและอากาศร้อน ส่วนข้าวสาลีข้าวฟ่าง เกาเหลียงถั่วเหลืองมันฝรั่งมีปลูกมากในเขตแมนจูเรีย เป็นต้น
 
                        ข้าวสาลี
1.2การ เลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ที่ทำกันมากในภูมิภาคตะวันออก ได้แก่การเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อนไปตามบริเวณทุ่งหญ้าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ สัตว์ที่เลี้ยงมากได้แก่โค ม้า แกะ แพะ ลา จามาลี อูฐ สามารถใช้ประโยนช์จากสัตว์ได้แก่ใช้เนื้อนมเป็นอาหาร

                               การเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน
2.การประมง
เป็นอาชีพที่สำคัญของชาวเอเชียตะวันออกมา ตั้งแต่โบราณ ทั้งนี้มีการทำประมงน้ำจืด คือ การเลี้ยงปลาในบริเวณแหล่งน้ำชลประทานกันอย่างแพร่หลาย แหล่งประมงน้ำจืดของจีน  ได้แก่ ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตอนล่าง และทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณมณฑลฟูเกี้ยน และกวางตุ้ง ซึ่งมีแหล่งน้ำลำธาร หนอง บึง และทะเลสาบอยู่มากมาย นอกจากนี้ ก็มีการเลี้ยงปลาน้ำจืด กันอย่างประปราย ทั้งในเกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน    สำหรับการทำประมงน้ำเค็ม ทุกประเทศในภูมิภาค (ยกเว้นประเทศมองโกเลีย) เป็นแหล่งประมงน้ำเค็มที่สำคัญของโลก โดยเฉพาะญี่ปุ่นนั้นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการทำประมงมากที่สุดในโลก โดยเรือการประมงของญี่ปุ่นนอกจากจะทำการจับปลาในเขตน่านน้ำของตนแล้ว ยังแล่นเรือออกไปจับปลาในเขตน่านน้ำสากล และลงทุนทำประมงกับประเทศอื่นๆไปทั่วโลกอีกด้วย    ทางด้านประเทศจีน ส่วนใหญ่จะเป็นประมงชายฝั่ง เพราะชาวจีนไม่นิยมออกเรือไปจับปลาไกลๆ แหล่งประมงสำคัญ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งนับตั้งแต่อ่าวหางโจวทางตอนกลางของประเทศ
3. การป่าไม้
 เป็นอาชีพที่ไม่มีความ สำคัญมากนักต่อภูมิภาคนี้ เกี่ยวกับไม้สน และไม้ไผ่ที่ปลูกเอง ส่วนประเทศจีนการทำป่าไม้จะมีอยู่บ้างในเขตบางจูเรียและมลฑลเสฉวน ปัจจุบันนี้ในประเทศญี่ปุ่นได้ไปลงทุนทำอุตสาหกรรมป่าไม้นอกประเทศ เช่น ที่เกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4 การทำอุตสาหกรรม
เนื่องจากสินค้าอุตสาหกรรมของภูมิภาคนี้ ถูกส่งออกไปจำหน่ายตีตลาดไปทั่วโลก รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี ซึ่งประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ เช่นกัน
1 ญี่ปุ่น มีการอุตสาหกรรมทั่วทุกจังหวัดของประเทศ เขตอุตสาหกรรม ใหญ่ๆ ของญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 4 เขต คือ
1. เขตโตเกียว-โยะโกะฮะมะ การผลิตเครื่องโลหะเคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แก้ว กระดาษ การทอผ้า การผลิตอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น
2. เขตโคเบะ-โอซะกะ เช่น การถลุงเหล็ก ถลุงโลหะ ทอผ้า การต่อเรือ นอกจากนี้ ก็มีการผลิตเครื่องโลหะ เครื่องเหล็ก เครื่องไม้ การผลิตถ้วยชามและอุปกรณ์ไฟฟ้า
3. เขตนะโงะยะ  การผลิตกระดาษ ผลิตน้ำมันพืช เครื่องถ้วยชาม เคมีภัณฑ์ และยังมีอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบิน เครื่องคอมพิวเตอร์ ผลิตรถยนต์
4. เขตคีวชูตอนเหนือ เป็นเขตอุตสาหกรรมหนักของประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมเครื่องจักร ปูนซีเมนต์ การต่อเรือ เคมีภัณฑ์ และปิโตเคมี
2 จีนเป็นประเทศที่มีวัตถุดิบมาก และในปัจจุบันเทคโนโลยีในการผลิตทันสมัย จึงทำให้อุตสาหกรรมของจีนเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยจีนสามารถผลิตผ้าฝ้ายได้มากที่สุดในโลก โรงงานอุตสาหกรรมหนักของจีนส่วนใหญ่ จะตั้งอยู่เขตแมนจูเรียและเมืองใหญ่ๆ เช่น ปักกิ่ง เทียนสิน เซี่ยงไฮ้ จุงกิง เป็นต้น
3 เกาหลีใต้ เป็นประเทศที่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมได้เจริญรวดเร็วจนกลายเป็นผู้ส่งออก อันดับ 2 ของเอเชียรองจากญี่ปุ่น อุตสาหกรรมที่สำคัญของเกาหลีใต้ ได้แก่ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ รถยนต์ การต่อเรือ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ เครื่องเหล็ก อุปการณ์โทรคมนาคม และเครื่องจักรต่างๆ
4 ไต้หวัน เนื่องจากไต้หวันมีทรัพยากรณ์ธรรมชาติที่ไม่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้นอุตสาหกรรมของไต้หวันจึงเป็นอุตสหกรรมเบาและการแปลรูปผลิตภัณฑ์ทาง การเกษตร เช่น การผลิตอาหารสำเร็จรูป การทำอาหารกระป๋อง นอกจากนี้มีการผลิตอุปการณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจารอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ของเล่นสำหรับเด็ก

5. พานิชยกรรม
กรุงโตเกียว (ญี่ปุ่น) และฮ่องกงของจีนได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของการค้าที่สำคัญที่สุดอีกแห่ง หนึ่งของโลก ในขณะที่ไทเป (ไต้หวัน) โซล (เกาหลีใต้) สินค้าที่สำคัญของภาคนี้คือ สินค้าอุตสาหกรรมชนิดต่างๆ ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน และในขณะที่สินค้าเข้า จะเป็นพวกวัตถุดิบต่างๆและอาหาร







ประวัติศาสตร์ ม.2 (วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือ)

วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

การประเมินหลักฐานเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งของวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีจำนวนมาก ทั้งที่มีข้อมูลสอดคล้องและขัดแย้งกัน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐาน  (ประเมินภายนอก)  และวิพากษ์ข้อมูล  (ประเมินภายใน)  โดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐาน

วิธีการประเมินหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือการวิพากษ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์   มีอยู่ 2 กรณีคือ
               1. การประเมินหลักฐานภายนอก   การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism)   
     เป็นการประเมินตัว หลักฐานจากภายนอก ว่าใครเป็นผู้บันทึกหลักฐานนั้น มีสถานภาพใดในขณะนั้น บันทึกโดยจุดมุ่งหมายใด มีความเป็นกลางเพียงใด คือ  การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน

                 2. การประเมินหลักฐานภายใน  การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism)
                       เป็นการประเมินเนื้อหาของข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐานนั้นๆ ว่าน่าเชื่อถือ และมีอคติหรือไม่ ตรงกับข้อเท็จจริงหรือมีการบิดเบือนข้อมูลหรือไม่  คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็น

ประวัติศาสตร์ ชั้น ม.2 (พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย

พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย

พระกริ่งพระยาดำรง ๑๔๒ ปี พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย


ภาพ:บิดา1.png


        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๐๕ ทรงพระนามว่า "ดิศวรกุมาร" ทรงเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบกราชวัลลภ รับราชการเป็นร้อยตรีทหารราบ ทหารม้า และราชองครักษ์ เจริญพระยศถึงพลตรี ต่อจากนั้นทรงรับภาระจัดราชการฝ่ายศึกษาธิการและธรรมการอยู่ประมาณ ๓ ปี พอถึง พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงพิจารณาเลือกใช้รูปการปกครองแบบเทศาภิบาลและสุขภิบาล อันเป็นต้นของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน
        ทั้งยังได้ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ขึ้น เพื่อกำหนดหน้าที่ ให้ข้าราชการมหาดไทยมีหน้าที่ปกครอง ป้องกัน บำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน และกำหนดท้องที่ปกครองแบ่งเขตเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ในขณะเดียวกัน ก็เริ่มจัดระบบงานสุขาภิบาล สาธารณสุขและอนามัย ตลอดจนจัดวางระบบของหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา กรมป่าไม้ กรมสรรพากร เป็นอาทิ ซึ่งล้วนมีผลยืนยงเป็นแบบอย่างสืบมาจนปัจจุบันนี้
        นอกจากนั้น ยังทรงใฝ่พระทัยในวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดีวิทยาการนานาชนิด ทรงรวบรวมสรรพตำราและสรรพวัตถุประดิษฐานขึ้นเป็นหอสมุดและพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติ ทั้งได้นิพนธ์วิทยาการเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐาน เป็นที่รับรองยกย่องโดยทั่วไป จนได้รับการ ถวายฐานันดรจากองค์การสหประชาชาติให้เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของโลก
ภาพ:บิดา2.png        ทางด้านศิลปวัฒนธรรม ทรงริเริ่มและวางรากฐานการดำเนินงานของกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และพระองค์ท่านก็ทรงอุทิศเวลา ทรงพระนิพนธ์หนังสือตำราต่างๆ ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี อันเป็นมรดกทางปัญญาของชาวโลก จนได้รับพระสมัญญาเป็น "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย" และทรงได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสห ประชาชาติ (UNESCO) ให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นบุคคลสำคัญของโลก คนแรก ของประเทศไทย ในปี ๒๕๐๕
        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สิ้นพระชนม์ ณ วังวรดิศ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๘๖ รวมพระชนมายุได้ ๘๑ พรรษา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก


วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รู้จักคอมพิวเตอร์


มาตรฐานการเรียนรู้    
3.1                      เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล  การเรียนรู้  การสื่อสาร  การแก้ปั­ญหา  การทำงาน  และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล และมีคุณธรรม
ตัวชี้วัด 
3.1 .1/1          อธิบายหลักการทำงาน บทบาท และประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ 

รู้จักคอมพิวเตอร์
                คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศซึ่งมีความสามารถหลายอย่าง  คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์และโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ ประเภทของคอมพิวเตอร์
                คอมพิวเตอร์ แบ่งตามขนาดและความสามารถ  ได้ดังนี้
                1.  ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ มีความเร็วในการประมวลผลสูงสุด ใช้ในงานวิเคราะห์และพยากรณ์อากาศ การสำรวจอวกาศ การวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียม งานจำลองแบบที่ซับซ้อนมาก ๆ
                2.  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถนะในการทำงานสูง แต่ไม่เน้นความเร็วในการคำนวณ ใช้ในธุรกิจธนาคารหรือสายการบิน
                3.  มินิคอมพิวเตอร์ มีสมรรถนะรองมาจากเมนเฟรมคอมพิวเตอร์  ใช้ในหน่วยงาน
ขนาดกลางสำหรับให้บริการข้อมูลแก่เครื่องลูกข่าย
                4.  ไมโครคอมพิวเตอร์ มีราคาถูก  เคลื่อนย้ายสะดวก และหาซื้อมาใช้ได้ทั่วไปจึงได้รับความนิยมสูงสุด คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ได้แก่ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์สมุดพก
และเครื่องอ่านพิกัด
                5.  คอมพิวเตอร์มือถือ มีขนาดเล็ก พกพาได้สะดวก ใช้จัดการข้อมูลประจำวัน นัดหมาย
ดูหนัง ฟังเพลง ส่งอีเมลได้ ตัวอย่างประเภทนี้ เช่น พีดีเอ (PDA) เป็นต้น
 
                ให้นักเรียนฝึกอ่านและเขียนคำศัพท์เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ดังนี้
                computer              (คัมพิว´ เทอะ)     คอมพิวเตอร์
                keyboard               (คี´ บอร์ด)            แผงแป้นอักขระ
                printer                   (พริน´ เทอะ)       เครื่องพิมพ์
                scanner                  (สแกน´ เนอร์)    เครื่องกราดตรวจ
                speaker                  (สพี´ เคอะ)          ลำโพง
http://www.youtube.com/watch?v=kA4HbONOIOo&feature=related